- ศูนย์การเรียนรู้บ้านกระเดียน หมู่ 1 ตำบลกระเดียน อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
- ข้อมูลทั่วไปของชุมชน
1.1.1 ประวัติชุมชน
บ้านกระเดียน มีประวัติความเป็นมาอยู่หลากหลายความเชื่อ ซึ่งจากการรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ จึงทำให้ผู้เขียนได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาดังนี้ คือ บ้านกระเดียน เดิมชื่อ“บ้านหนองแซเบียน” เนื่องจากบ้านกระเดียนมีไม้ไผ่มากมาย จึงทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่จะจักสานเครื่องใช้ไม้สอยเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำรงชีวิต อาทิเช่น กระด้ง กระเบียน ไซ หวด ตะกร้า จนมีการเรียกชื่อ ผิดเพี้ยนจนกลายเป็นบ้านกระเดียน จนมาถึงทุกวันนี้ และข้อมูลชุดที่ 2 คือ บ้านกระเดียน เดิมชื่อ“บ้านหนองแซ่เนียน” เมื่อชาวบ้านส่ายข้าวเหนียวจากกระโบม[1] จะทำให้ข้าวเหนียวจะติดอยู่กับภาชนะกระโบมจึงทำให้ชาวบ้านจะนำเอากระโบมส่ายข้าวเหนียวนำไปแช่น้ำที่ หนองน้ำแซ่เนียน และใน พ.ศ. 2323 หลังจากที่เจ้าคำผง (พระประทุมวรราชสุริยวงศ์) ได้ทำการจัดตั้งเมืองอุบลราชธานีขึ้น ต่อมาใน พ.ศ. 2324 บ้านหนองแซ่เนียน ตำบลตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี จึงได้รับการจัดตั้งให้เป็นหมู่บ้านขึ้น ซึ่งในระยะแรกชาวบ้านกลุ่มแรกที่ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในหมู่บ้านก็คือ นายสุ นายบัว เป็นผู้เดินทางมาเป็นกลุ่มแรก โดยการเดินทางมาจากหนองบัวลำภู(นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ตามตำนานพระวอ-พระตา ผู้สร้างเมืองหนองบัวลำภู) บ้านกระเดียนเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ เนื่องจากจำนวนประชาชกเพิ่มจำนวนหนาแน่นขึ้น และเกิดการขยายตัวของอาคารบ้านเรือนออกไปตามเส้นทางการคมนาคม จึงทำให้ทางการได้ดำเนินการแบ่งแยกหมู่บ้านออกเป็น 2 หมู่บ้าน คือ บ้านกระเดียน หมู่ 1 และ บ้านกระเดียน หมู่ 2
บ้านกระเดียน เป็นหมู่บ้านที่มีลักษณะเป็นชุมชนกึ่งเมืองเนื่องจากหมู่บ้านมีระยะทางห่างจากอำเภอตระการพืชผลประมาณ 5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 นาที ส่วนระยะทางห่างจาก จังหวัดอุบลราชธานี ประมาณ 52 กิโลเมตร ซึ่งในอดีตบ้านกระเดียนถือได้ว่าเป็นจุดพักแรมของชาวบ้านที่จะเดินทางเข้าสู่ตัวจังหวัดอุบลราชธานี และยังเป็นเส้นทางการคมนาคมระหว่างอำเภอศรีเมืองใหม่และอำเภอโขงเจียมได้อีกด้วย และในเวลาทางราชการได้มีการสร้างขยายเส้นหมายเลข 2134 จึงทำให้ชาวบ้านจากอำเภอศรีเมืองใหม่และอำเภอโขงเจียม ได้เปลี่ยนไปใช้เส้นทางใหม่ที่มิต้องเดินทางผ่านเข้าสู่เส้นทางหลักของหมู่บ้าน หากจะเดินทางเพื่อใช้เส้นทางนี้ก็จะเป็นกลุ่มคนที่จะเดินทางมาเพื่อติดต่อระหว่างความเป็นเครือญาติเท่านั้น
คำขวัญอำเภอตระการพืชผล
“ตรพการเมืองข้าวหอม พรั่งพร้อมวัฒนธรรม
งามล้ำหอไตรฯ พระเจ้าใหญ่วัดศรีฯ
มากมีเกลือสินเธาว์ ถิ่นเก่าบ้านคุหลู
เชิดชูพุทธศาสน์ อุดมชาติด้วยพืชผล”
คำขวัญประจำตำบลกระเดียน
“กระเดียนถิ่นนักปราชญ์ มรดกชาติกุฏิลาย
หลากหลายภูมิปัญญา ล้ำค่าพระเจ้าใหญ่
ลือไกลข้าวเหนียวอ่อน ออนซอนพระบาง
รอบขว้างกวางคำเก่า เล่าขานบ้านป่าเกี้ยง”
1.1.2 สภาพภูมิประเทศ และการตั้งถิ่นฐาน
สภาพภูมิประเทศ บ้านกระเดียนมีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบสูง อยู่ระหว่างลำห้วยคำปูน และลำห้วยกวางโตน ซึ่งพื้นที่โดยรอบจะมีความอุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยพื้นที่ป่าชุมชน และมีทุ่งนาล้อมรอบหมู่บ้าน และเป็นทางผ่านในการเดินทางจากอำเภอศรีเมืองใหม่ อำเภอโขงเจียมผ่านเข้าตัวเมืองจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งแต่เดิมจะใช้เส้นทางกลางบ้านของหมู่บ้านกระเดียนเป็นเส้นทางหลักในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน
การตั้งถิ่นฐาน ชาวบ้านกระเดียนจะมีการสร้างบ้านเรือนอยู่หลากหลายลักษณะ เช่น ในบางครอบครัวที่ประกอบอาชีพค้าขายจะดำเนินการเลือกพื้นที่ให้อยู่ระหว่างเส้นทางการคมนาคม เพื่อให้ง่ายต่อการประกอบอาชีพ และส่วนชาวบ้านบางครอบครัวที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จะมีการสร้างบ้านเรือนอยู่ในที่ดินของตัวเองเพื่อเป็นการอยู่ดูแลผลผลิตทางการเกษตรของครอบครัว
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลบ้านแดง อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลกุศกร อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลโนนกุง อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลคำเจริญ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
1.1.3 ลักษณะโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค และสาธารณสุข
ระบบสาธารณูปโภค
- ไฟฟ้า ประชาชนในเขตตำบลกระเดียนจะได้รับบริการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จึงทำให้ประชาชนตำบลกระเดียนมีไฟฟ้าใช้เกือบครบทุกครัวเรือน
- ประปาหมู่บ้าน บ้านกระเดียนหมู่ 1 จะมีจุดการให้บริการสถานีจ่ายน้ำประปาเป็นระบบประปาของหมู่บ้านมากกว่าการใช้บริการจากการประปาส่วนภูมิภาค ประกอบกับประชาชนบางส่วนในบ้านกระเดียนจะมีการขุดบ่อน้ำตื้นและน้ำบาดาลใช้ภายในครัวเรือนเป็นบางส่วน
- ร้านค้าชุมชน จะตั้งอยู่ภายในหมู่บ้าน หมู่ 1 มีร้านค้าจำนวน 4 ร้าน และ หมู่ 2 มีร้านค้าจำนวน 3 ร้าน โดยสินค้าส่วนใหญ่จะเน้นที่สินค้าอุปโภคและบริโภคมากที่สุด อาทิเช่น ผงชักฟอง แชมพู น้ำยาล้างจาน ขนม และอุปกรณ์ในการปรุงอาหาร เป็นต้น
ตัวอย่างบรรยากาศภายในร้านค้าชุมชน
- ปั้มน้ำมันชุมชน เป็นปั้มที่มีการจัดตั้งโดยชุมชนเพื่อบริหารให้กับคนในชุมชน ซึ่งการบริหารจัดการจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลจากทางสหกรณ์ชุมชน
- ศาลากลางบ้าน ตั้งอยู่ภายในเขตพื้นที่หมู่ที่ 1 และเป็นพื้นที่ที่ใช้ในการประชุมกับชาวบ้านในพื้นที่ ยังใช้เป็นพื้นที่ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองได้อีกด้วย
- ตลาดชุมชน ตั้งอยู่ใจกลางของหมู่บ้านกระเดียน ตั้งอยู่ในบริเวณหมู่ที่ 1 โดยผู้ค้าจะเข้ามาตั้งร้านเพื่อขายอาหารสดให้กับผู้คนภายในหมู่บ้านเพื่อนำไปประกอบอาหาร ซึ่งในบางร้านจะมีการประกอบอาหารสำเร็จเพื่อจัดจำหน่ายในรูปแบบถุง จำนวนร้านจะมีอยู่ประมาณ 10 ร้าน และช่วงเวลาในการขายสินค้า คือ ช่วงเวลาเช้าจนถึงช่วงบ่ายของทุกๆ วัน
- ด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม ในเขตบ้านกระเดียนมีการติดต่อสื่อทางระหว่างกันโดยการอาศัยเสียงตามสายของหมู่บ้านเพื่อเป็นการเข้าถึงประชาชนให้ครบทุกหมู่บ้านและทุกครั้งเรียน ประกอบกับทางองค์การโทรศัพท์ได้นำโทรศัพท์สาธารณะเข้ามาทำการติดตั้งให้ภายในพื้นที่เพื่อเป็นการให้บริการแต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนที่มีความจำเป็นต่อการให้บริการ โดยโทรศัพท์สาธารณะ มีทั้งหมด 2 ตู้ ดังนี้ คือ หมู่ 1 บ้านกระเดียน จำนวน 1 ตู้ และ หมู่ 2 บ้านกระเดียน 1 ตู้
1.2 ข้อมูลเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจ
1.2.1 การประกอบอาชีพ
ด้วยภูมิประเทศของตำบลกระเดียน เป็นที่ราบลุ่มเหมาะกับการเพาะปลูก อาชีพส่วนใหญ่จึงเป็นอาชีพเกษตรกรรมกว่า 95% มีการทำนา ทำสวนยาง ปลูกอ้อย และมันสำปะหลัง อีกทั้งมีการปลูกพืชผักสวนครัว ส่วนอาชีพอื่นได้แก่การเลี้ยงสัตว์ เช่น เลี้ยงโค กระบือ ไก่ เป็ด และสุกร นอกจากนี้ยังมีการประกอบอาชีพค้าขาย 3 % และรับราชการและรับจ้างทั่วไป 2 %
1.2.2 การแลกเปลี่ยนและการบริโภค
ด้านการแลกเปลี่ยนสินค้า ภายในหมู่บ้านยังคงมีลักษณะแบบนี้อยู่แต่จะเป็นการแลกเปลี่ยนสิ่งของภายในระบบเครือญาติเสียมากกว่า บ้านไหนมีข้าวหม้อแกงหม้อก็จะนำมาช่วยงานร่วมกันในทุกงานบุญ บ้างก็อยู่ในรูปแบบของการลงแรงช่วยเหลือกันในการลงแขกดำนำ เกี่ยวข้าว ฯลฯ
ด้านการบริโภค ชาวบ้านในชุมชนจะร่วมกันปลูกต้นไม้ที่สามารถบริโภคได้ เพื่อให้ชาวบ้านภายในชุมชนสามารถที่จะเก็บผลผลิตนำกลับไปปรุงอาหารได้ โดยไม่ต้องเสียเงินให้กับทางชุมชน ยังเป็นการสร้างวินัยให้กับคนในชุมชนในรูปแบบอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น การแบ่งปัน การเอื้ออาทรกับผู้ที่ด้อยกว่าผ่านการแบ่งปันผลผลิตทางการเกษตรจากข้างบ้านและกระถางหน้าบ้าน
1.3 ข้อมูลเกี่ยวกับระบบสังคมและการเมือง
1.3.2 เพื่อนบ้าน
จากการสัมภาษณ์จากท่านผู้ใหญ่บ้านจึงทำให้พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้การทำงานร่วมกันภายในชุมชนประสบความสำเร็จและทางชุมชนได้รับรางวัลหมู่บ้านดีเด่น และอีกในหลากหลายรางวัล คือ การทำงานของผู้ใหญ่บ้านจะไม่ได้ทำโดยตัวเพียงคนเดียว แต่จะเป็นการประสานขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนภายในชุมชน เนื่องจากชาวบ้านที่อาศัยอยู่ภายในหมู่บ้านจะเป็นกลุ่มคนดั้งเดิมที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นี่ดังแต่เดิม จังทำให้ความเป็นเพื่อนบ้านยังมีอยู่มาก ซึ่งการทำงานในทุกๆ กิจกรรมทางท่านผู้ใหญ่บ้านจะทำการเชิญผู้เกี่ยวข้องให้เข้ามามีส่วนร่วมดังนี้
- คณะที่ปรึกษาชุมชน ซึ่งเป็นกลุ่มข้าราชการที่ได้เกษียณอายุราชการและก็ผันตัวเองมาช่วยทำงานให้กับชุมชน จะค่อยให้คำปรึกษาร่วมในกัน
- ความร่วมมือของชาวบ้านในแต่ละคุ้มที่มองว่าชุมชนเป็นของทุกคน มิใช่ของคนใดคนหนึ่ง และทุกคนจะมองว่าปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในชุมชนจะเป็นปัญหาที่ทุกคนจะต้องร่วมกัน
- การที่หมู่บ้านร่วมกันตั้งกฎบ้าน เป็นระเบียบปฏิบัติที่ทางชุมชนได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการบริหารงานชุมชนต่างๆ ร่วมกันผ่านเวทีประชาคม หากบ้านใดไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับทางชุมชน ก็จะไม่ได้รับระบบสวัสดิการชุมชนเหมือนกับครอบครัวอื่นๆ
- สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ทางชุมชนมีความเชื่อเกี่ยวกับพระบาง (ศาลพระบาง) ซึ่งเป็นสิ่งศักสิทธิที่คนในชุมชนจะยึดเป็นแหล่งยึดเหนี่ยวร่วมกัน
1.3.3 กลุ่มอื่นๆ ภายในหมู่บ้านมีทั้งหมด 7 กลุ่ม
- กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตได้เริ่มก่อตั้งในปี 2530 โดยผู้การก่อตั้ง คือ นายไพเสริฐ ทองผาย ได้รับการประสานงานจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอตระการพืชผล เพื่อเริ่มการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตซึ่งในระยะแรกทางผู้ใหญ่บ้านจะได้ประสานข้อมูลข่าวสารเพื่อให้สมาชิกในหมู่บ้านได้รับทราบประโยชน์ของการจัดตั้งกลุ่มและวิธีการจัดเก็บรวบรวมเงินเพื่อนำเข้าสู่กองทุน การให้ปันผล การปล่อยสินเชื่อในรูปแบบต่างๆ ในปัจจุบันมีสมาชิกในกลุ่มทั้งหมด 775 คน และจำนวนสมาชิกจะเพิ่มขึ้นและลดลงในทุกปี
กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต หมู่ 1 ถือได้ว่าเป็นกลุ่มออมทรัพย์ที่มีความเข้มแข็งและมีศักยภาพในการบริหารจัดการที่ดีจนทางกลุ่มได้รับรางวัลชนะเลิศระดับจังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2537 และในระยะเวลาต่อมาทางกลุ่มได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกระเดียน เป็นจำนวนเงิน 300,000 บาท เพื่อใช้เป็นทุนในการจัดซื้อปุ๋ยเพื่อนำมาจำหน่ายให้กับสมาชิกในราคากระสอบละ 10 บาท รวมทั้งการสนับสนุนการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับทางกลุ่ม ด้วยวิธีการปล่อยกู้ในดอกเบี้ยร้อยละ 1 บาท และทางกลุ่มยังได้ขอยืมเงินจากองค์การบริหารส่วนตำบลกระเดียน จำนวน 100,000 บาท เพื่อนำงบประมาณมาลงทุนเพื่อการผลิตน้ำดื่มให้กับทางชุมชนในรูปแบบของสวัสดิการชุมชน และยังส่งออกเพื่อจำหน่ายทั้งในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้าน ในการนี้ทางกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตได้นำเงินส่งคืนให้กับทางองค์การบริหารส่วนตำบลกระเดียน ปีละ 20,000 บาท โดยไม่มีดอกเบี้ย จะทางกลุ่มยังได้นำเงินจากกองทุนนำไปสร้างปั้มน้ำมัน และตู้โทรศัพท์เพื่อบริการให้กับชุมชน
วัตถุประสงค์ ของการจัดตั้งกลุ่มเพื่อปลูกฝังระบบ พัฒนาคนให้มีคุณธรรม 5 ประการ
- มีความซื่อสัตย์ต่อกัน
- มีความรับผิดชอบต่อตนเองและเพื่อสมาชิก
- มีความเสียสละและอดทน
- มีความเห็นอกเห็นใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
- มีความไว้ว่างใจกัน
กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต มี สมาชิกทั้งหมด 7 คน
- นาย ไพเสริฐ ทองพาย ประธาน
- นางสาว เทียมชิด จำปาศรี รองประธาน
- นาง อรศรี วิลามาศ เลขานุการ
- นาง มานุณี วิลาวรรณ เหรัญญิก
- นาง สุพัฒตรา พรมบุตร กรรมการ
- นาง อวยพร พันธ์สุวรรณ กรรมการ
- นาง สมศรี ยุทรภิญโญ กรรมการ
- กลุ่มทอผ้า
กลุ่มทอผ้า เริ่มก่อตั้งในปี 2545 เป็นการร่วมกันของชาวบ้านจำนวน 10 คน ที่ได้ร่วมกันลงทุนกันในครั้งแรกด้วยงบประมาณหุ้นละ 500 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,000 บาท เพื่อนำมาท่อผ้าขาวม้า ผ้าถุง ผ้าห่ม ผ้ากราบบัว ผ้าขามหรือผ้าดิบ ส่งขายทั้งในหมู่บ้านและพื้นที่ข้างเคียง และในระยะต่อมาทางกลุ่มจึงได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นทางการ จึงทำให้ทางกลุ่มได้รวมกลุ่มผู้ที่มีความสนใจจนทำให้ทางกลุ่มมีสมาชิครวมทั้งสิ้น 30 คน และได้รับการจัดตั้งเมื่อปี 2550 โดยการร่วมกันลงหุ้นคนละ 100 บาท และได้งบประมาณสนับสนุนจากสหกรณ์การเกษตรตระกาลพืชผล จำกัด เป็นจำนวนเงิน 45,000 บาท เพื่อนำมาลงทุนในการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ ในการท่อผ้ากราบบัวของหมู่บ้าน และยังช่วยกันพัฒนาให้ตัวสินค้าสามารถเข้ารับการคัดสรรเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และได้รับรางวัล 5 ดาว เมื่อ ปี 2554 เป็นการแบ่งรายได้ให้กับครอบครัวเป็นการหารายได้เสริมในอีกทางหนึ่ง ช่วงเวลาที่ใช้ในการผลิตจะเกิดขึ้นในช่วงเวลานอกฤดูกาลทำนาและนอกฤดูกาลเก็บเกี่ยว
2. กลุ่มเพาะเห็ดขอนขาว
กลุ่มเพาะเห็ดขอนขาว ก่อตั้งเมื่อ ปี 2554 มีสมาชิก จำนวน 20 คน โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นจำนวนเงิน 6,000 บาท เป็นเวลาต่อเนื่อง 3 ปี และทางกลุ่มยังได้ร่วมหุ้นจากสมาชิกที่มีความสนใจ เป็นจำนวนหุ้นละ 200 บาท/คน และผลผลิตที่ทางกลุ่มได้ผลิตคือ เห็ดนางฟ้า เห็ดขอนขาว เห็ดบด เมื่อนำผลผลิตทางการเกษตรนำไปจำหน่ายในท้องตลาดทางกลุ่มจะดำเนินการรวบรวมเงินรายได้จากการขายสินค้า และจะนำกลับมาปันผลให้กับกลุ่มสมาชิกในช่วงเวลาสิ้นปี และปันผลบางส่วนจะนำกลับมาใช้ในกระบวนการผลิต
กระบวนการจัดซื้อวัตถุดิบ ทางกลุ่มจะจัดซื้อก้อนเชื้อจากภายนอกชุมชน และนำมาฝึกและหัดทำ โดยปริมาณการผลิตก้อนเชื้อของทางกลุ่มคือ วันละ 300 ก้อน เมื่อทางกลุ่มได้ทำก้อนเชื้อแล้วเสร็จจึงได้นำก้อนเชื้อกลับไปพักไว้เป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน หลังจากนั้นก็เข้าทำการเก็บผลผลิตและจัดจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 70 บาท
วัตถุประสงค์
- เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับกลุ่มสมาชิก
- เพื่อเป็นส่งเสริมรายได้ให้กับคนว่างงาน
- เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณของสินค้าและของที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยว
- กลุ่มสภาบันการเงินชุมชน
- กลุ่มธนาคารข้าว
- กลุ่มเลี้ยงสัตว์
- กลุ่มสวัสดิ์การและสิ่งแวดล้อม