ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านปะอาว

ศูนย์เครือข่ายโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง

โรงเรียนบ้านปะอาว ตำบลหนองขอน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุบลราชธานีเขต 1

สภาพทั่วไปของชุมชน

ตำบลปะอาว  มีเส้นทางคมนาคมที่สำคัญคือ ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 23 ถนนแจ้งสนิทเป็นเส้นทางหลัก เชื่อมระหว่างจังหวัดอุบลราชธานีกับจังหวัดยโสธร การขนส่งในเขตตำบลปะอาว ราษฎรนิยมใช้ยานพาหนะได้แก่  รถจักยานยนต์  รถประจำทาง  รถยนต์ส่วนบุคคล ตามลำดับ  มีระบบการไฟฟ้าขยายทั่วถึงทั้งตำบล  ประชากรมีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือนทำให้ประชาชนมีสิ่งอำนวยความสะดวก คือมีเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เกือบครบทุกครัวเรือน ส่วนใหญ่ได้รับการบริการด้านการประปาจากระบบประปาหมู่บ้าน จำนวน 689 ครัวเรือน จำนวนครัวเรือนที่ไม่มีน้ำประปาใช้ จำนวน 768 ครัวเรือน จำนวนน้ำประปาที่ผลิตได้ 200  ลบ.ม./วัน  จำนวนน้ำประปาที่มีการใช้  200  ลบ.ม./วัน ประชาชนในตำบลปะอาว นับถือศาสนาพุทธ มีจำนวนทั้งสิ้น  5,358 คน จำแนกเป็นชาย 2,678 คน หญิง 2,680 คน  และมีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 1,513 ครัวเรือน สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะ เป็นหมู่บ้าน พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม อาชีพหลักของชุมชน คือ การเกษตร ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประเพณี /ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ  งานบุญบั้งไฟ , บุญพระเวส , ปู่ตา , วัฒนธรรมเครื่องทองเหลือง , ผ้าไหม , ภาษาอีสาน

แนวทางในการดำเนินการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ประวัติโรงเรียน(โดยย่อ)

โรงเรียนบ้านปะอาว  ตั้งขึ้นเมื่อ  พ.ศ.2461  โดยอาศัยศาลาการเปรียญวัดเรียบปะอาวใต้เป็น สถานที่เล่าเรียน  พระภิกษุคำ  บึงแก้ว  เจ้าอาวาสวัดทำหน้าที่เป็นครูใหญ่และพระภิกษุปุ้ย  เยาวบุตร    เป็นครูสอนพ.ศ.2464  นายอำเภอเมืองอุบลราชธานี ได้แต่งตั้งให้นายคำดี   บรรลุศิลป์  เป็นครูใหญ่คนแรก พ.ศ. 2478  ได้ย้ายออกจากวัด  มาเรียนที่อาคารเอกเทศ ซึ่งสภาพเป็นอาคารชั่วคราวในที่สาธารณะ ขณะนั้นมีนักเรียนทั้งหมด 250 คนมีเขตบริการบ้านหนองขอน  บ้านหนองช้าง  บ้านดอนชีและบ้านข่าโคม พ.ศ.2481  ได้งบประมาณสร้างอาคารถาวร  ปัจจุบันเปิดเรียน  ระดับก่อนประถมศึกษา  ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ปัจจุบันมีนายนรินทร์ พานคำ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านปะอาว

วิสัยทัศน์ของโรงเรียนบ้านปะอาว

ปี พ.ศ.2559 “สร้างคนดี มีสติปัญญา อยู่อย่างมีความสุขตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” กำหนดพันธกิจและเป้าประสงค์ เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน สู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาขอเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา โดยผ่านงาน/โครงการและกิจกรรมต่างๆ ที่มุ่งเน้นให้เกิดสมดุลและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ ด้านแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านปะอาวที่สนับสนุนการจัดกิจกรรมที่ปฏิบัติจริงตามหลัก

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
    1) ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
– บ้านพอเพียง
– ฐานจุลลิทรีชีวภาพ อี.เอ็ม เปียก
– ฐานเตากลั่นน้ำส้มควันไม้
– แปลงสาธิตการแบ่งพื้นที่ทำการเกษตรตามเกษตรทฤษฎีใหม่
– ฐานน้ำหมักสมุนไพรไล่แมลง
– ฐานการเลี้ยงกบ เลี้ยงปลา สาธิต
– ฐานฝ่ายชะลอน้ำ (ฝ่ายแม้ว)
– ฐานอุโมงค์พอเพียง
    2) โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันแบบยั่งยืน

– การเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่
– การเลี้ยงหมูป่า
– การเพาะเห็ดนางฟ้า
– การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก
– การเลี้ยงกบในบ่อคอนกรีต
– การปลูกพืช ผักปลอดสารพิษ ตามฤดูกาล
– การทำโครงงานอาชีพ เสาวรส พืชอเนกประสงค์เพื่อสุขภาพ

3) ศูนย์หล่อผลิตภัณฑ์ทองเหลือง
4) ศูนย์การเรียนรู้ “หมู่บ้านอาเซียน”
5) ห้องสมุดมีชีวิตต้นแบบ
6) สวนพฤกษศาสตร์
7) ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ของโรงเรียน

แนวทางการดำเนินงาน

วิธีการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา โรงเรียนบ้านปะอาวได้ดำเนินขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้กลยุทธ์ปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทยและวิถีตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สถานศึกษาได้น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาให้เป็นวิถีปฏิบัติของครูและบุคลกรทางการศึกษา ในการบริหารจัดการสถานศึกษา การจัดทำหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนจะทำให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะ อยู่อย่างพอเพียง จึงได้ดำเนินการพัฒนาสถานศึกษาจัดกิจกรรมและโครงการต่างๆ โดยได้น้อมนำแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดชฯ มาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างจริงจัง โดยยึดถือเป็นนโยบายที่ต้องปฏิบัติให้เกิดขึ้นในโรงเรียน ด้วยความเชื่อมั่นในหลักการที่ว่าปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น เป็นสิ่งที่สามารถสร้างขึ้นได้ในสังคมทุกระดับ เพื่อที่จะได้นำสังคมไทยสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” โดยใช้วิธี “บ่มเพาะความดี สู่วิถีพอเพียง” ซึ่งอุปนิสัยพอเพียงที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน จะได้นำพาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งความพอเพียงต่อไป การบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านปะอาวได้ใช้รูปแบบการบริหาร โดยได้กำหนดกระบวนการจัดการศึกษา มุ่งเน้นใช้แนวคิดเชิงบูรณาการด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแกนหลัก และใช้รูปแบบระบบการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนเป็นสำคัญ มีครูและผู้ปกครองเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง และได้ออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยนำหลักคิดหลักปฏิบัติไปสู่นักเรียนเพื่อเกิดความยั่งยืน

ทิศทางและยุทธศาสตร์การดำเนินงานร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี

สำนักบริการวิชาการชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี  มุ่งมั่นสนองปณิธานสืบสานพระราชดำริขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการบริการชุมชนอย่างครบวงจรในฐานะหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี พันธกิจหลัก คือศูนย์ข้อมูลด้านวิชาการเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนท้องถิ่นส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยสู่การต่อยอดการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นสู่ความยั่งยืน ศูนย์การเรียนรู้ เป็นอีกหนึ่งกลไกเป็นรากฐานให้ชุมชนมีความเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้

การสร้างชุมชนเข้มแข็ง จึงเป็นดั่งกระแสเรียกร้องของสังคมให้หันกับมาพิจารณารากเหง้าของตนเองตั้งแต่ความเป็นจริงของสังคม กระบวนการศึกษาการเรียนรู้เพื่อความเป็นไทย หันมาสร้างจิตสำนึกของความเป็นพลเมือง(Civic Consciousness) การสร้างความรักในชุมชนท้องถิ่น รักในเพื่อนรอบข้างรวมทั้งสิ่งแวดล้อมทั้งการเข้าร่วมกับเครือข่ายยังเป็นการถักทอสายใยแห่งความร่วมมือ เพื่อพัฒนาสังคม มีความเป็นชุมชนอิสระหรือองค์กรแบบพลเมืองที่เข้มแข็ง มีความหลากหลาย ปราศจาการครอบงำโดยอำนาจรัฐและทุนเป็นองค์กรอาสาสมัครของสังคม เมื่อองค์กรและพลเมืองเข้าร่วมกันก็จะเกิดความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมที่ช่วยเหลือกันแก้ปัญหาและพัฒนาเพื่อให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้ในที่สุด (โกวิทย์       พวงงาม.2553)[1]

“ด้วยความเชื่อมั่นในหลักการที่ว่าปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น เป็นสิ่งที่สามารถสร้างขึ้นได้ในสังคมทุกระดับ เพื่อที่จะได้นำสังคมไทยสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” โดยใช้วิธี “บ่มเพาะความดี สู่วิถีพอเพียง” ซึ่งอุปนิสัยพอเพียงที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน จะได้นำพาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งความพอเพียงต่อไป การบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านปะอาวได้ใช้รูปแบบการบริหาร โดยได้กำหนดกระบวนการจัดการศึกษา มุ่งเน้นใช้แนวคิดเชิงบูรณาการด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแกนหลัก และใช้รูปแบบระบบการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนเป็นสำคัญ มีครูและผู้ปกครองเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง และได้ออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยนำหลักคิดหลักปฏิบัติไปสู่นักเรียนเพื่อเกิดความยั่งยืน”ในด้านโอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียนคืออยู่ใกล้แหล่งเรียนรู้ และได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานีและโรงเรียนได้รับความร่วมมือจากคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้นำชุมชน ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นอย่างดี สามารถประสานความร่วมมือใน การระดมทรัพยากรในการจัดการศึกษาได้อยู่ในระดับดี และให้ความช่วยเหลือด้านแรงงานในการพัฒนาอาคารสถานที่ แต่โดยสภาพพื้นที่บริเวณซึ่งโรงเรียนตั้งอยู่เป็นชุมชนที่หมู่บ้านยากจน ทำให้การระดมทรัพยากรทำได้ค่อนข้างน้อยและมีการอพยพย้ายถิ่นที่อยู่ไปหางานทำในท้องถิ่นอื่นนักเรียนบางส่วนอพยพตามผู้ปกครอง (บทสัมภาษณ์.นรินทร์ พานคำ.2559)[2]

           โรงเรียนบ้านปะอาวมีความโดดเด่นในด้านการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับครูและนักเรียน นอกเหนือจากนี้ผู้บริหารยังได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารจัดการศึกษาทั้ง ๔ ด้าน งานบริหารทั่วไป / งานบริหารงานวิชาการ / การบริหารงานบุคคล / การบริหารงานงบประมาณ และจากการดำเนินงานดังกล่าว ส่งผลให้เกิด(Best Practice) เกิดเครือข่ายเครือข่ายการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง   มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มีบทบาทด้านการหนุนเสริมเพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านการบริการวิชาการเกิดเป็นการบูรณาการร่วมกัน ซึ่งที่ผ่านมามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีได้วางแผนงานและกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เกิดเป็น “โรงเรียนเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียง”ซึ่งมีความพร้อมในหลายด้านคือ

ด้านความสัมพันธ์กับชุมชนและหน่วยงานภายนอก

1. การวางแผนและดำเนินการสร้างเครือข่ายการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง           ของสถานศึกษา

2.ชุมชนให้ความไว้วางใจ ให้การสนับสนุน ส่งเสริม และมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา

3.สถานศึกษามีส่วนร่วมและให้การสนับสนุนชุมชน และหน่วยงานอื่น ในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4.สถานศึกษาบริหารจัดการศึกษาและจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จนสามารถเป็นแบบอย่างแก่สถานศึกษาและหน่วยงานอื่นได้

5.เกิดเครือข่ายที่เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างสถานศึกษากับชุมชนและหน่วยงาน

โรงเรียนแห่งนี้มีนโยบายมุ่งพัฒนาให้สามารถจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้เกิดเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเพื่อเป็น“สถานศึกษาพอเพียง”

พรรณี  ไชยอำพร (2549) [3]กล่าวว่าในการขับเคลื่อนชุมชนนั้นจะต้องมีกระบวนการพัฒนาในระดับปฏิบัติการและต้องผ่านมิติวัฒนธรรมใน 3 มิติด้วย คือ 1) ระบบความเชื่อ/ความคิด 2) ระบบคุณค่า/ค่านิยม รวมถึงคุณธรรมและจริยธรรม และ 3) แบบแผนของคนส่วนใหญ่ที่กระทำและมีพฤติกรรมคล้ายคลึงกัน หรือเป็นกึ่งอัตโนมัติ โดยสำนึกว่าต้องทำอะไร เมื่อไรอย่างไร (Pattern of Action Behavior) ในการขับเคลื่อนงานพัฒนาหรือการขับเคลื่อนชุมชนใดๆ จะมีขั้นตอนที่เน้นมิติของชาวบ้านเป็นหลัก แต่ยังต้องเตรียมคน หรือผู้นำชุมชนให้มีความสนใจและเข้ามาร่วม ฉะนั้นการขับเคลื่อนจึงจำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมของผู้คนซึ่งประกอบด้วยผู้นำและประชาชนไว้ดังนี้

1) ขั้นการตระหนักในช่องว่าง (Consciousness Gap) ซึ่งการตระหนักในช่องว่างนี้มักบ่งชี้ด้วยการรับรู้ปัญหาการมีความต้องการโดยมองเห็น/รับรู้ถึงช่องว่างหรือช่วงห่างของสภาพที่เป็นอยู่กับสิ่ง ที่พึ่งปรารถนา (Problem/Need)

2) ขั้นมีความต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างมีขอบเขต (Aspiration Frontier) เมื่อบุคคลตระหนักใช่องว่างแต่ยอมรับได้/ปลงได้ การขับเคลื่อนเพื่อการเปลี่ยนแปลงย่อมไม่เกิดขึ้นดังนั้นหากต้องการให้มีกาขับเคลื่อน จำเป็นต้องเสริมสร้างให้เกิดการจูงใจในการเปลี่ยนแปลงหรือต้องการการเปลี่ยนแปลง การนำสิ่งที่ดีงามน่าภาคภูมิใจทั้งในอดีตและปัจจุบันของชุมชนมาเป็นสื่อชักนำให้มีความต้องการให้มีสิ่งที่ดีงามน่าภาคภูมิใจเป็นต้น

3) ขั้นให้เกียรติไม่สร้างความรู้สึกแปลกแยก (De-Alienation) กล่าวคือ ในการขับเคลื่อนงาน เพื่อจะให้บุคคลตัดสินใจเข้ามามีส่วนร่วม จำเป็นต้องให้เกียรติ หรือสร้างความรู้สึกว่าทุกคนมีความสำคัญต่องานการขับเคลื่อน

4) ขั้น การมีส่วนร่วม (Participation) เนื่องจากการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดภาวการณ์เปลี่ยนแปลง      ที่ยั่งยืนผู้คนในชุมชนจำเป็นต้องเข้ามามีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง (Genuine Participation) อันหมายถึง การมีส่วนร่วมตัดสินใจ หรือการมีส่วนร่วมแบบต่อเนื่อง (Continuous Participation) คือ การมีส่วนร่วมในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุดการขับเคลื่อน

5) ขั้นสามารถพึ่งตนเอง (Self-Reliance) ทั้งการพึ่งตนเองทางวัตถุ การพึ่งตนเองทางจิตใจ และการพึ่งตนเองทางสติปัญญา

6) ขั้นผู้คนในสังคมคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกัน (Collective) คิดถึงผู้อื่น คิดถึงผลประโยชน์สาธารณะ ตลอดจนการมีจิตอาสากระบวนการพัฒนาในระดับปฏิบัติการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อีกบทบาทหนึ่งคือการขับเคลื่อนชุมชน เพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง         การขับเคลื่อนชุมชนนั้นจะต้องมีกระบวนการพัฒนาในระดับปฏิบัติการนั้นต้องเน้นช่องว่าง (Consciousness Gap) ซึ่งการตระหนักในช่องว่างนี้มักบ่งชี้ด้วยการรับรู้ปัญหาการมีความต้องการโดยมองเห็นให้เกียรติไม่สร้างความรู้สึกแปลกแยก (De-Alienation) กล่าวคือ ในการขับเคลื่อนงาน เพื่อจะให้บุคคลตัดสินใจเข้ามามีส่วนร่วม จำเป็นต้องให้เกียรติ หรือสร้างความรู้สึกว่าทุกคนมีความสำคัญต่องานการขับเคลื่อน การมีส่วนร่วม (Participation) การมีส่วนร่วมตัดสินใจ หรือการมีส่วนร่วมแบบต่อเนื่อง (Continuous Participation)        คือ การมีส่วนร่วมในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุดการขับเคลื่อนทั้งนี้สามารถพึ่งตนเอง          (Self-Reliance) ทั้งการพึ่งตนเองทางวัตถุ การพึ่งตนเองทางจิตใจ และการพึ่งตนเองทางสติปัญญาและสังคมคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกัน (Collective) คิดถึงผู้อื่น คิดถึงผลประโยชน์สาธารณะ ตลอดจนการมีจิตอาสากระบวนการพัฒนาในระดับปฏิบัติการ จะเห็นได้ว่าการขับเคลื่อนโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียงแห่งนี้มีกระบวนการพัฒนาในระดับปฏิบัติการนั้นต้องเน้นช่องว่าง (Consciousness Gap) โดยเริ่มตั้งแต่การปลูกฝั่ง ตั้งแต่เด็กและมีความเท่าเทียมกัน สร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วม เพื่อต่อยอดให้เกิดการพึ่งตนเอง (Self-Reliance) เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป