- การดำเนินการของศูนย์การเรียนรู้ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
– เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2541 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จเยี่ยมราษฎร บ้านโนนสวรรค์ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นหมู่บ้านตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียง พระองค์ทรงรับสั่งฯ อยากให้นำไปทำให้กับหมู่บ้านอื่นด้วย เพื่อให้ราษฎรได้มีอาหารรับประทานอย่างเพียงพอ ในแนวทางที่คิดว่าราษฎรสามารถนำไปปฏิบัติได้โดยง่าย ใช้ภูมิปัญญาของท้องถิ่น ใช้วัสดุที่มีในธรรมชาติ ลดการพึ่งพาจากภายนอกไม่ใช้สารเคมี ซึ่งมีแนวทางในการดำเนินการดังนี้
1. การลดต้นทุนในการทำนา ทำไร่ ทำสวน โดยใช้ปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ แทนการใช้ปุ๋ยเคมี
2. การเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ ในบ่อพลาสติกขนาดเล็ก เพื่อให้มีอาหารไว้รับประทาน
3. การปลูกพืชผักสวนครัวรอบบ่อปลา และตามแนวรั้วเพื่อลดรายจ่ายและปลอดสารเคมี
4. การเลี้ยงไก่พื้นเมือง โดยใช้ปลวกเป็นอาหารเสริมให้กับไก่เพื่อเป็นการตอบสนองพระราชดำรัส ศูนย์อำนวยการประสานงานฯ ได้ทำการเปิดอบรมให้ความรู้กับราษฎรที่อยู่นอกพื้นที่เป้าหมาย ตลอดจนประชาชนทั่วไป ในเรื่อง องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการพึ่งตนเอง การลดรายจ่าย การเพิ่มรายได้ เพิ่มศักยภาพในการผลิต โดยใช้ปุ๋ยจุลินทรีย์ชีวภาพ จึงได้จัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้โรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาดูงาน ในเรื่องการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ โดยยึดหลัก “ คิด – ทำ ” แบบง่ายๆ แบบภูมิปัญญาท้องถิ่น มุ่งเน้นแสดงให้เห็นถึงแนวทาง
1. การลดต้นทุน
2. การลดค่าใช้จ่าย
3. การเพิ่มผลผลิต
4. การรักษาสิ่งแวดล้อม
ประกอบด้วยฐานเรียนรู้ จำนวน 8 ฐาน ได้แก่
ฐานเรียนรู้ที่ 1 การเผาถ่าน เตาเศรษฐกิจ เตาชีวมวล และน้ำส้มควันไม้
ฐานเรียนรู่ที่ 2 การทำปุ๋ยหมัก
ฐานเรียนรู่ที่ 3 การเพาะเห็ด
ฐานเรียนรู้ที่ 4 การทำน้ำยาอเนกประสงค์
ฐานเรียนรู้ที่ 5 การทำปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน และการเลี้ยงปูนา
ฐานเรียนรู้ที่ 6 การทำอิฐบล็อกดินประสาน
ฐานเรียนรู้ที่ 7 แปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวทางพระราชดำริ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในหลวงรัชกาลที่ 9
ฐานเรียนรู้ที่ 8 การทำฮอร์โมนผลไม้/ และสารไล่แมลง
ฐานเรียนรู้ที่ 9 ฐานอนุรักษ์ป่า
– ตั้งแต่เริ่มโครงการฯ จนถึงปัจจุบัน มีส่วนราชการ เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และราษฎรทั่วไปเข้าร่วมการอบรมศึกษาดูงาน จำนวนทั้งสิ้น 1,044,000 คน (หนึ่งล้านสี่หมื่นสี่พันคน)
2. รูปแบบ/แนวทางการดำเนินกิจกรรมที่ดำเนินอยู่มีความเหมาะสมหรือไม่
– มีความเหมาะสม ตามบริบทของหน่วย ใช้แนวทางการดำเนินงานโดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่ผ่านมาศูนย์การเรียนรู้ป่าดงนาทามแห่งนี้สามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจในทุกภาคส่วน ตลอดระยะเวลา 20 ปี มีผู้เข้ามาศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง
3. แนวทางการจัดตั้งศูนย์ / เคล็ดลับการจัดตั้งศูนย์เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0
– การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ป่าดงนาทาม เป็นส่วนหนึ่งของกรมทหารราบที่ 6 ปัจจุบันได้ดำเนินการเข้าสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ กรมทหารราบที่ 6 ในปี 2560 ให้ปรับฐานการเรียนรู้เพิ่มขึ้นจากเดิม 8 ฐานการเรียนรู้ เป็น 10 ฐานการเรียนรู้ เพื่อตอบรับยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการจัดส่งเจ้าหน้าที่ ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่วิทยากร
4. แนวทางการสร้าง และพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
– ศูนย์การเรียนรู้ป่าดงนาทาม แห่งนี้มีความยั่งยืน จากโครงสร้างและบริบทของหน่วยเพิ่มเติมด้วยการสร้างศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานโดยการเชื่อมโยงเครือข่ายชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน องค์กร ภาครัฐและเอกชน
5. แผนการขยายศูนย์การเรียนรู้เครือข่าย
– ผ่านเครือข่ายต่างๆ และการช่วยเหลือด้านการเป็นวิทยากรให้กับทุกภาคส่วน สนับสนุน และจัดนิทรรศการให้ใช้สถานที่ของหน่วยดงนาทามฯ ในการจัดอบรมและเข้าศึกษาดูงาน สุ่มติดตามผลสัมฤทธิ์ของผู้เข้าศึกษาดูงานการขยายผลสู่เครือข่ายในชุมชน ของผู้เข้าอบรม รวมทั้งการเข้าร่วมกับทุกภาคส่วนเพื่อสร้างและพัฒนาเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง