ศูนย์การเรียนรู้บ้านกระเดียน

  1. ศูนย์การเรียนรู้บ้านกระเดียน หมู่ 1 ตำบลกระเดียน  อำเภอตระการพืชผล  จังหวัดอุบลราชธานี
  2. ข้อมูลทั่วไปของชุมชน

1.1.1 ประวัติชุมชน

บ้านกระเดียน มีประวัติความเป็นมาอยู่หลากหลายความเชื่อ ซึ่งจากการรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ จึงทำให้ผู้เขียนได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาดังนี้ คือ บ้านกระเดียน เดิมชื่อ“บ้านหนองแซเบียน” เนื่องจากบ้านกระเดียนมีไม้ไผ่มากมาย จึงทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่จะจักสานเครื่องใช้ไม้สอยเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำรงชีวิต อาทิเช่น กระด้ง กระเบียน ไซ หวด ตะกร้า จนมีการเรียกชื่อ ผิดเพี้ยนจนกลายเป็นบ้านกระเดียน จนมาถึงทุกวันนี้  และข้อมูลชุดที่ 2 คือ บ้านกระเดียน เดิมชื่อ“บ้านหนองแซ่เนียน” เมื่อชาวบ้านส่ายข้าวเหนียวจากกระโบม[1] จะทำให้ข้าวเหนียวจะติดอยู่กับภาชนะกระโบมจึงทำให้ชาวบ้านจะนำเอากระโบมส่ายข้าวเหนียวนำไปแช่น้ำที่ หนองน้ำแซ่เนียน และใน พ.ศ. 2323 หลังจากที่เจ้าคำผง (พระประทุมวรราชสุริยวงศ์) ได้ทำการจัดตั้งเมืองอุบลราชธานีขึ้น ต่อมาใน พ.ศ. 2324 บ้านหนองแซ่เนียน ตำบลตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี จึงได้รับการจัดตั้งให้เป็นหมู่บ้านขึ้น ซึ่งในระยะแรกชาวบ้านกลุ่มแรกที่ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในหมู่บ้านก็คือ นายสุ นายบัว เป็นผู้เดินทางมาเป็นกลุ่มแรก โดยการเดินทางมาจากหนองบัวลำภู(นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ตามตำนานพระวอ-พระตา ผู้สร้างเมืองหนองบัวลำภู) บ้านกระเดียนเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ เนื่องจากจำนวนประชาชกเพิ่มจำนวนหนาแน่นขึ้น และเกิดการขยายตัวของอาคารบ้านเรือนออกไปตามเส้นทางการคมนาคม จึงทำให้ทางการได้ดำเนินการแบ่งแยกหมู่บ้านออกเป็น 2 หมู่บ้าน คือ บ้านกระเดียน หมู่ 1 และ บ้านกระเดียน หมู่ 2

บ้านกระเดียน เป็นหมู่บ้านที่มีลักษณะเป็นชุมชนกึ่งเมืองเนื่องจากหมู่บ้านมีระยะทางห่างจากอำเภอตระการพืชผลประมาณ  5  กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ  7  นาที ส่วนระยะทางห่างจาก  จังหวัดอุบลราชธานี ประมาณ 52  กิโลเมตร  ซึ่งในอดีตบ้านกระเดียนถือได้ว่าเป็นจุดพักแรมของชาวบ้านที่จะเดินทางเข้าสู่ตัวจังหวัดอุบลราชธานี และยังเป็นเส้นทางการคมนาคมระหว่างอำเภอศรีเมืองใหม่และอำเภอโขงเจียมได้อีกด้วย และในเวลาทางราชการได้มีการสร้างขยายเส้นหมายเลข 2134 จึงทำให้ชาวบ้านจากอำเภอศรีเมืองใหม่และอำเภอโขงเจียม ได้เปลี่ยนไปใช้เส้นทางใหม่ที่มิต้องเดินทางผ่านเข้าสู่เส้นทางหลักของหมู่บ้าน หากจะเดินทางเพื่อใช้เส้นทางนี้ก็จะเป็นกลุ่มคนที่จะเดินทางมาเพื่อติดต่อระหว่างความเป็นเครือญาติเท่านั้น

คำขวัญอำเภอตระการพืชผล

“ตรพการเมืองข้าวหอม   พรั่งพร้อมวัฒนธรรม

งามล้ำหอไตรฯ             พระเจ้าใหญ่วัดศรีฯ

มากมีเกลือสินเธาว์         ถิ่นเก่าบ้านคุหลู

เชิดชูพุทธศาสน์            อุดมชาติด้วยพืชผล”

คำขวัญประจำตำบลกระเดียน

“กระเดียนถิ่นนักปราชญ์  มรดกชาติกุฏิลาย

หลากหลายภูมิปัญญา     ล้ำค่าพระเจ้าใหญ่

ลือไกลข้าวเหนียวอ่อน     ออนซอนพระบาง

รอบขว้างกวางคำเก่า      เล่าขานบ้านป่าเกี้ยง”

1.1.2 สภาพภูมิประเทศ และการตั้งถิ่นฐาน

สภาพภูมิประเทศ บ้านกระเดียนมีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบสูง อยู่ระหว่างลำห้วยคำปูน และลำห้วยกวางโตน ซึ่งพื้นที่โดยรอบจะมีความอุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยพื้นที่ป่าชุมชน และมีทุ่งนาล้อมรอบหมู่บ้าน และเป็นทางผ่านในการเดินทางจากอำเภอศรีเมืองใหม่ อำเภอโขงเจียมผ่านเข้าตัวเมืองจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งแต่เดิมจะใช้เส้นทางกลางบ้านของหมู่บ้านกระเดียนเป็นเส้นทางหลักในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน

               การตั้งถิ่นฐาน ชาวบ้านกระเดียนจะมีการสร้างบ้านเรือนอยู่หลากหลายลักษณะ เช่น ในบางครอบครัวที่ประกอบอาชีพค้าขายจะดำเนินการเลือกพื้นที่ให้อยู่ระหว่างเส้นทางการคมนาคม เพื่อให้ง่ายต่อการประกอบอาชีพ และส่วนชาวบ้านบางครอบครัวที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จะมีการสร้างบ้านเรือนอยู่ในที่ดินของตัวเองเพื่อเป็นการอยู่ดูแลผลผลิตทางการเกษตรของครอบครัว

อาณาเขต

ทิศเหนือ        ติดต่อกับ  ตำบลบ้านแดง   อำเภอตระการพืชผล   จังหวัดอุบลราชธานี

ทิศใต้            ติดต่อกับ  ตำบลกุศกร      อำเภอตระการพืชผล   จังหวัดอุบลราชธานี          ทิศตะวันออก   ติดต่อกับ  ตำบลโนนกุง    อำเภอตระการพืชผล       จังหวัดอุบลราชธานี     ทิศตะวันตก     ติดต่อกับ ตำบลคำเจริญ   อำเภอตระการพืชผล       จังหวัดอุบลราชธานี

1.1.3 ลักษณะโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค และสาธารณสุข

ระบบสาธารณูปโภค

  1. ไฟฟ้า  ประชาชนในเขตตำบลกระเดียนจะได้รับบริการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จึงทำให้ประชาชนตำบลกระเดียนมีไฟฟ้าใช้เกือบครบทุกครัวเรือน
  2. ประปาหมู่บ้าน  บ้านกระเดียนหมู่ 1 จะมีจุดการให้บริการสถานีจ่ายน้ำประปาเป็นระบบประปาของหมู่บ้านมากกว่าการใช้บริการจากการประปาส่วนภูมิภาค  ประกอบกับประชาชนบางส่วนในบ้านกระเดียนจะมีการขุดบ่อน้ำตื้นและน้ำบาดาลใช้ภายในครัวเรือนเป็นบางส่วน
  1. ร้านค้าชุมชน จะตั้งอยู่ภายในหมู่บ้าน หมู่ 1 มีร้านค้าจำนวน 4 ร้าน และ หมู่ 2 มีร้านค้าจำนวน 3 ร้าน โดยสินค้าส่วนใหญ่จะเน้นที่สินค้าอุปโภคและบริโภคมากที่สุด อาทิเช่น ผงชักฟอง แชมพู น้ำยาล้างจาน ขนม และอุปกรณ์ในการปรุงอาหาร เป็นต้น

ตัวอย่างบรรยากาศภายในร้านค้าชุมชน

  1. ปั้มน้ำมันชุมชน เป็นปั้มที่มีการจัดตั้งโดยชุมชนเพื่อบริหารให้กับคนในชุมชน ซึ่งการบริหารจัดการจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลจากทางสหกรณ์ชุมชน
  2. ศาลากลางบ้าน ตั้งอยู่ภายในเขตพื้นที่หมู่ที่ 1 และเป็นพื้นที่ที่ใช้ในการประชุมกับชาวบ้านในพื้นที่ ยังใช้เป็นพื้นที่ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองได้อีกด้วย
  1. ตลาดชุมชน ตั้งอยู่ใจกลางของหมู่บ้านกระเดียน ตั้งอยู่ในบริเวณหมู่ที่ 1 โดยผู้ค้าจะเข้ามาตั้งร้านเพื่อขายอาหารสดให้กับผู้คนภายในหมู่บ้านเพื่อนำไปประกอบอาหาร ซึ่งในบางร้านจะมีการประกอบอาหารสำเร็จเพื่อจัดจำหน่ายในรูปแบบถุง จำนวนร้านจะมีอยู่ประมาณ 10 ร้าน และช่วงเวลาในการขายสินค้า คือ ช่วงเวลาเช้าจนถึงช่วงบ่ายของทุกๆ วัน
  1. ด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม  ในเขตบ้านกระเดียนมีการติดต่อสื่อทางระหว่างกันโดยการอาศัยเสียงตามสายของหมู่บ้านเพื่อเป็นการเข้าถึงประชาชนให้ครบทุกหมู่บ้านและทุกครั้งเรียน ประกอบกับทางองค์การโทรศัพท์ได้นำโทรศัพท์สาธารณะเข้ามาทำการติดตั้งให้ภายในพื้นที่เพื่อเป็นการให้บริการแต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนที่มีความจำเป็นต่อการให้บริการ โดยโทรศัพท์สาธารณะ  มีทั้งหมด 2 ตู้  ดังนี้ คือ หมู่  1 บ้านกระเดียน จำนวน 1 ตู้ และ หมู่  2 บ้านกระเดียน 1 ตู้

1.2  ข้อมูลเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจ

1.2.1 การประกอบอาชีพ

ด้วยภูมิประเทศของตำบลกระเดียน เป็นที่ราบลุ่มเหมาะกับการเพาะปลูก อาชีพส่วนใหญ่จึงเป็นอาชีพเกษตรกรรมกว่า  95% มีการทำนา ทำสวนยาง   ปลูกอ้อย  และมันสำปะหลัง  อีกทั้งมีการปลูกพืชผักสวนครัว ส่วนอาชีพอื่นได้แก่การเลี้ยงสัตว์  เช่น  เลี้ยงโค   กระบือ  ไก่  เป็ด  และสุกร  นอกจากนี้ยังมีการประกอบอาชีพค้าขาย  3 % และรับราชการและรับจ้างทั่วไป 2 %

1.2.2 การแลกเปลี่ยนและการบริโภค

ด้านการแลกเปลี่ยนสินค้า ภายในหมู่บ้านยังคงมีลักษณะแบบนี้อยู่แต่จะเป็นการแลกเปลี่ยนสิ่งของภายในระบบเครือญาติเสียมากกว่า บ้านไหนมีข้าวหม้อแกงหม้อก็จะนำมาช่วยงานร่วมกันในทุกงานบุญ บ้างก็อยู่ในรูปแบบของการลงแรงช่วยเหลือกันในการลงแขกดำนำ เกี่ยวข้าว ฯลฯ

ด้านการบริโภค ชาวบ้านในชุมชนจะร่วมกันปลูกต้นไม้ที่สามารถบริโภคได้ เพื่อให้ชาวบ้านภายในชุมชนสามารถที่จะเก็บผลผลิตนำกลับไปปรุงอาหารได้ โดยไม่ต้องเสียเงินให้กับทางชุมชน ยังเป็นการสร้างวินัยให้กับคนในชุมชนในรูปแบบอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น การแบ่งปัน การเอื้ออาทรกับผู้ที่ด้อยกว่าผ่านการแบ่งปันผลผลิตทางการเกษตรจากข้างบ้านและกระถางหน้าบ้าน

1.3  ข้อมูลเกี่ยวกับระบบสังคมและการเมือง

1.3.2  เพื่อนบ้าน

จากการสัมภาษณ์จากท่านผู้ใหญ่บ้านจึงทำให้พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้การทำงานร่วมกันภายในชุมชนประสบความสำเร็จและทางชุมชนได้รับรางวัลหมู่บ้านดีเด่น และอีกในหลากหลายรางวัล คือ การทำงานของผู้ใหญ่บ้านจะไม่ได้ทำโดยตัวเพียงคนเดียว แต่จะเป็นการประสานขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนภายในชุมชน เนื่องจากชาวบ้านที่อาศัยอยู่ภายในหมู่บ้านจะเป็นกลุ่มคนดั้งเดิมที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นี่ดังแต่เดิม จังทำให้ความเป็นเพื่อนบ้านยังมีอยู่มาก ซึ่งการทำงานในทุกๆ กิจกรรมทางท่านผู้ใหญ่บ้านจะทำการเชิญผู้เกี่ยวข้องให้เข้ามามีส่วนร่วมดังนี้

  1. คณะที่ปรึกษาชุมชน ซึ่งเป็นกลุ่มข้าราชการที่ได้เกษียณอายุราชการและก็ผันตัวเองมาช่วยทำงานให้กับชุมชน จะค่อยให้คำปรึกษาร่วมในกัน
  2. ความร่วมมือของชาวบ้านในแต่ละคุ้มที่มองว่าชุมชนเป็นของทุกคน มิใช่ของคนใดคนหนึ่ง และทุกคนจะมองว่าปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในชุมชนจะเป็นปัญหาที่ทุกคนจะต้องร่วมกัน
  3. การที่หมู่บ้านร่วมกันตั้งกฎบ้าน เป็นระเบียบปฏิบัติที่ทางชุมชนได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการบริหารงานชุมชนต่างๆ ร่วมกันผ่านเวทีประชาคม หากบ้านใดไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับทางชุมชน ก็จะไม่ได้รับระบบสวัสดิการชุมชนเหมือนกับครอบครัวอื่นๆ
  4. สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ทางชุมชนมีความเชื่อเกี่ยวกับพระบาง (ศาลพระบาง) ซึ่งเป็นสิ่งศักสิทธิที่คนในชุมชนจะยึดเป็นแหล่งยึดเหนี่ยวร่วมกัน

1.3.3 กลุ่มอื่นๆ ภายในหมู่บ้านมีทั้งหมด 7 กลุ่ม

  1. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตได้เริ่มก่อตั้งในปี 2530 โดยผู้การก่อตั้ง คือ นายไพเสริฐ ทองผาย ได้รับการประสานงานจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอตระการพืชผล เพื่อเริ่มการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตซึ่งในระยะแรกทางผู้ใหญ่บ้านจะได้ประสานข้อมูลข่าวสารเพื่อให้สมาชิกในหมู่บ้านได้รับทราบประโยชน์ของการจัดตั้งกลุ่มและวิธีการจัดเก็บรวบรวมเงินเพื่อนำเข้าสู่กองทุน การให้ปันผล การปล่อยสินเชื่อในรูปแบบต่างๆ ในปัจจุบันมีสมาชิกในกลุ่มทั้งหมด 775 คน และจำนวนสมาชิกจะเพิ่มขึ้นและลดลงในทุกปี

กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต หมู่ 1 ถือได้ว่าเป็นกลุ่มออมทรัพย์ที่มีความเข้มแข็งและมีศักยภาพในการบริหารจัดการที่ดีจนทางกลุ่มได้รับรางวัลชนะเลิศระดับจังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2537 และในระยะเวลาต่อมาทางกลุ่มได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกระเดียน เป็นจำนวนเงิน 300,000 บาท เพื่อใช้เป็นทุนในการจัดซื้อปุ๋ยเพื่อนำมาจำหน่ายให้กับสมาชิกในราคากระสอบละ 10 บาท รวมทั้งการสนับสนุนการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับทางกลุ่ม ด้วยวิธีการปล่อยกู้ในดอกเบี้ยร้อยละ 1 บาท  และทางกลุ่มยังได้ขอยืมเงินจากองค์การบริหารส่วนตำบลกระเดียน จำนวน 100,000 บาท เพื่อนำงบประมาณมาลงทุนเพื่อการผลิตน้ำดื่มให้กับทางชุมชนในรูปแบบของสวัสดิการชุมชน และยังส่งออกเพื่อจำหน่ายทั้งในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้าน ในการนี้ทางกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตได้นำเงินส่งคืนให้กับทางองค์การบริหารส่วนตำบลกระเดียน ปีละ 20,000 บาท โดยไม่มีดอกเบี้ย จะทางกลุ่มยังได้นำเงินจากกองทุนนำไปสร้างปั้มน้ำมัน และตู้โทรศัพท์เพื่อบริการให้กับชุมชน

วัตถุประสงค์ ของการจัดตั้งกลุ่มเพื่อปลูกฝังระบบ พัฒนาคนให้มีคุณธรรม 5 ประการ

  1. มีความซื่อสัตย์ต่อกัน
  2. มีความรับผิดชอบต่อตนเองและเพื่อสมาชิก
  3. มีความเสียสละและอดทน
  4. มีความเห็นอกเห็นใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
  5. มีความไว้ว่างใจกัน

กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต มี สมาชิกทั้งหมด 7 คน

  1. นาย ไพเสริฐ  ทองพาย      ประธาน
  2. นางสาว เทียมชิด จำปาศรี  รองประธาน
  3. นาง อรศรี  วิลามาศ         เลขานุการ
  4. นาง มานุณี  วิลาวรรณ      เหรัญญิก
  5. นาง สุพัฒตรา พรมบุตร     กรรมการ
  6. นาง อวยพร  พันธ์สุวรรณ   กรรมการ
  7. นาง  สมศรี   ยุทรภิญโญ    กรรมการ
  1. กลุ่มทอผ้า

กลุ่มทอผ้า เริ่มก่อตั้งในปี 2545  เป็นการร่วมกันของชาวบ้านจำนวน 10 คน ที่ได้ร่วมกันลงทุนกันในครั้งแรกด้วยงบประมาณหุ้นละ 500 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,000 บาท เพื่อนำมาท่อผ้าขาวม้า ผ้าถุง ผ้าห่ม ผ้ากราบบัว ผ้าขามหรือผ้าดิบ ส่งขายทั้งในหมู่บ้านและพื้นที่ข้างเคียง และในระยะต่อมาทางกลุ่มจึงได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นทางการ จึงทำให้ทางกลุ่มได้รวมกลุ่มผู้ที่มีความสนใจจนทำให้ทางกลุ่มมีสมาชิครวมทั้งสิ้น 30 คน และได้รับการจัดตั้งเมื่อปี 2550 โดยการร่วมกันลงหุ้นคนละ 100 บาท และได้งบประมาณสนับสนุนจากสหกรณ์การเกษตรตระกาลพืชผล จำกัด เป็นจำนวนเงิน 45,000 บาท เพื่อนำมาลงทุนในการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ ในการท่อผ้ากราบบัวของหมู่บ้าน และยังช่วยกันพัฒนาให้ตัวสินค้าสามารถเข้ารับการคัดสรรเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และได้รับรางวัล 5 ดาว เมื่อ ปี 2554 เป็นการแบ่งรายได้ให้กับครอบครัวเป็นการหารายได้เสริมในอีกทางหนึ่ง ช่วงเวลาที่ใช้ในการผลิตจะเกิดขึ้นในช่วงเวลานอกฤดูกาลทำนาและนอกฤดูกาลเก็บเกี่ยว

     2. กลุ่มเพาะเห็ดขอนขาว

กลุ่มเพาะเห็ดขอนขาว ก่อตั้งเมื่อ ปี 2554  มีสมาชิก จำนวน 20 คน โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นจำนวนเงิน 6,000 บาท เป็นเวลาต่อเนื่อง 3 ปี และทางกลุ่มยังได้ร่วมหุ้นจากสมาชิกที่มีความสนใจ เป็นจำนวนหุ้นละ 200 บาท/คน และผลผลิตที่ทางกลุ่มได้ผลิตคือ เห็ดนางฟ้า เห็ดขอนขาว เห็ดบด เมื่อนำผลผลิตทางการเกษตรนำไปจำหน่ายในท้องตลาดทางกลุ่มจะดำเนินการรวบรวมเงินรายได้จากการขายสินค้า และจะนำกลับมาปันผลให้กับกลุ่มสมาชิกในช่วงเวลาสิ้นปี และปันผลบางส่วนจะนำกลับมาใช้ในกระบวนการผลิต

กระบวนการจัดซื้อวัตถุดิบ ทางกลุ่มจะจัดซื้อก้อนเชื้อจากภายนอกชุมชน และนำมาฝึกและหัดทำ โดยปริมาณการผลิตก้อนเชื้อของทางกลุ่มคือ วันละ 300 ก้อน เมื่อทางกลุ่มได้ทำก้อนเชื้อแล้วเสร็จจึงได้นำก้อนเชื้อกลับไปพักไว้เป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน หลังจากนั้นก็เข้าทำการเก็บผลผลิตและจัดจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 70 บาท

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับกลุ่มสมาชิก
  2. เพื่อเป็นส่งเสริมรายได้ให้กับคนว่างงาน
  3. เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณของสินค้าและของที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยว
  1. กลุ่มสภาบันการเงินชุมชน
  2. กลุ่มธนาคารข้าว
  3. กลุ่มเลี้ยงสัตว์
  4. กลุ่มสวัสดิ์การและสิ่งแวดล้อม